วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ศิลปะการขาย
                การขายเป็นกระบวนการค้าหาความต้องการและทำให้ได้รับความพอใจ

                เทคนิคการขายหรือศิลปะการขาย  คือการบวนการในการวิเคราะห์เพื่อค้นหาความต้องการของลูกค้าที่มีต่อสินค้าหรือบริการ  และจูงใจให้ทำการซื้อสินค้านั้นไปใช้แล้วทำให้ได้รับความพอใจ การขายจัดเป็นทั้งศาสตร์  กล่าวคือเป็นหลักการที่ได้มีผู้ไปทดลองปฏิบัติจนได้ผลแล้วและเป็นศิลป์ ซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนและปรับปรุงจนเกิดความชำนาญ

การขายกับการตลาด

                การขายโดยนักขายมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ขององค์กรธุรกิจแต่ละแห่ง  เพราะเป็นส่วนหนึ่งของส่วนประสมทางการตลาด

หน้าที่ความรับผิดชอบของนักขาย

                นักขายทุกคนจะมีหน้าที่งานที่รับผิดของคล้ายคลึงกันเริ่มตั้งแต่หน้าที่งานขั้นพื้นฐานที่สำคัญคือ งานขายตรง งานสนับสนุนการขาย และงานที่ไม่เกี่ยวกับการขาย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
                งานขายตรง (Direct Selling Duties)
                หน้าที่งานพื้นฐานของนักขายก็คือ  การทำให้ลูกค้าได้รับความพอใจ  ซึ่งถ้านักขายสามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะทำให้ขายได้และบรรลุตามโควต้าการขาย  อย่างไรก็ตามการที่นักขายจะประสบความสำเร็จในงานได้นั้นจะต้องรวบรวมข้อมูลที่จะใช้ในการเข้าพบลูกค้าและทำการขายโดยการเสนอขาย  สาธิต  ตอบคำถามลูกค้า  และทำให้มีความผูกพันที่จะซื้อสินค้าหรือบริการนั้น ๆ
                งานสนับสนุนการขาย (Auxiliary Selling Duties)
                การที่จะประสบความสำเร็จในการขายได้นั้น  นักขายจะต้องปฏิบัติหน้าที่งานสนับสนุนการขายหรืองานที่ไม่เกี่ยวกับการขายโดยตรงด้วย  ในทางปฏิบัตินักขายทุกคนต้องให้บริการแก่ผู้ซื้อ  บางครั้งก็ก่อนการขายครั้งแรกหรือบางทีหลังจากได้รับคำสั่งซื้อแล้ว
                งานที่ไม่เกี่ยวกับการขาย (Non-selling Activities)
                นักขายทุกคนจะต้องบริหารและพัฒนาตนเองโดยการวางแผนและควบคุมที่ดี  ซึ่งหมายความว่าจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้ฝึกอบรมการขายและผู้ควบคุมด้วย  โดยทั่วไปนักขายส่วนมากต้องเข้าร่วมในการประชุมการขาย  งานแสดงสินค้า  และการประชุมสัมมนา


ความหลากหลายทางชีวภาพ

            ความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งในโลกเรานี้  คือ  ความหลากหลายรูปแบบของสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการ ทั้งของสิ่งมีชีวิตเองและของสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง  จากอดีตจนถึงปัจจุบัน  และคงเปลี่ยนแปลงต่อไปอีกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  สิ่งมีชีวิตที่ปรากฎอยู่ในโลกปัจจุบันประมาณ 3-5 ล้านชนิด และคาดว่าอาจะมีมากมายถึง  30  ล้านชนิด  ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทางนิเวศวิทยา  และ แหล่งที่อยู่อาศัย  อันเกิดจากผลกระทบย้อนกลับไปกลับมาระหว่าง สิ่งมีชีวิตกับสภาวะแวดล้อม  จึงอาจกล่าวได้ว่า การเกิดความหลากหลายของสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยให้เพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชิวิตต่าง ๆ    เป็นเงาตามตัวไปด้วย อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติย่อมมีความสมดุลเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น   การเพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตถึงถูกกำจัดด้วยกระบวนการธรรมชาติบางอย่าง      โดยเฉพาะการสูญพันธุ์ซึ่งเป็นสัจธรรมอย่างหนึ่ง ดังคำกล่าวของพระพุทธองค์ที่ว่า มีเกิดก็มีดับความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) มีความหมายกว้างขวางครอบคลุมถึงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด  (species diversity) ไม่ว่าจะเป็นพวกจุลินทรีย์ พืช สัตว์ รวมทั้งมนุษย์  สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดล้วนแต่มีองค์ประกอบทางพันธุกรรมที่แตกต่างแปรผันออกไปมากมาย (genetic diversity)  เพื่อให้เกิดความสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพแหล่งที่อยู่อาศัยในแต่ละท้องถิ่น  อันเป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อน และหลากหลายในบริเวณต่าง ๆ ของโลก (ecological diversity) ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นผลที่เกิดจากกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต  ดังสรุปไว้ในแผนภาพที่ 1  ความหลากหลายทางชีวภาพมีความสำคัญต่อมนุษย์ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เพราะธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับปัจจัยทั้งสี่ที่ช่วยค้ำจุนให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข

ลักษณะของกฎหมาย

จากความหมายดังกล่าว สามารถแยกลักษณะของกฎหมายออกได้เป็น 5 ประการด้วยกันคือ
            1) กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ
            คำสั่งหรือข้อบังคับหมายถึงการแสดงออกซึ่งความประสงค์ของผู้มีอำนาจในลักษณะเป็นการบังคับให้บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำการหรืองดเว้นกระทำการไม่ใช่การประกาศเชิญชวนเฉยๆ เช่นถ้าหากรัฐบาลเชิญชวนให้ประชาชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือให้ประชาชนใช้สินค้าที่ผลิตขึ้นในประเทศเพื่อเป็นการสงวนเงินตราต่างประเทศไว้ลักษณะเป็นการเชิญชวน ไม่ใช่ลักษณะคำสั่งหรือข้อบังคับ ก็จะไม่ใช่เป็นกฎหมายไปกฎหมายมีลักษณะที่สั่งให้กระทำ เช่น ห้ามกระทำ หรืออาจจะให้กระทำก็ได้ เช่นห้ามฆ่าคนห้ามลักทรัพย์ห้ามข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น
            2) กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฐาธิปัตย์
            คำว่ารัฐาธิปัตย์ มาจากคำว่า รัฐาอธิปัตย์ ซึ่งแปลว่าผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศกฎหมายจะต้องมาจากผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการปกครองในระบบใดก็แล้วแต่ ถ้าเป็นการปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระบรมราชโองการหรือคำสั่งของพระมหากษัตริย์ก็จะเป็นกฎหมาย เพราะมาจากอำนาจสูงสุด ถ้าเป็นการปกครองในระบบเผด็จการที่มีการปฏิวัติรัฐประหาร มีคณะปฏิวัติเข้ามาปกครองประเทศคำสั่งของคณะปฏิวัติก็ถือว่าเป็นกฎหมายได้ เพราะเขาเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น
            ถ้าเป็นการปกครองในระบบประชาธิปไตย ซึ่งถือว่าอำนาจสูงสุดหรืออำนาจอธิปไตยมาจากประชาชน มีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกเป็น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการและประชาชนก็ใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางสภา ดังนั้นกฎหมายที่ออกมาจากสภานิติบัญญัติก็ถือว่าเป็นกฎหมายที่ออกมาจากผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ ก็คือประชาชนเช่นเดียวกัน
            3) กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป
            กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไปนั้น หมายความว่ากฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้วจะใชับังคับได้ทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกำหนดให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งต้องปฏิบัติตามเท่านั้น แต่กฎหมายจะใช้บังคับแก่บุคคลทุกคนเสมอภาค บุคคลทุกคนจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน
            4) กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป
            คำว่าใช้บังคับได้เสมอไปนั้น หมายถึง เมื่อกฎหมายได้ประกาศใช้ออกมาแล้วก็จะใช้ได้ตลอดไปจนกว่ามีการยกเลิกกฎหมายนั้น ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็ตามหรือกฎหมายฉบับใดเมื่อประกาศใช้มาแล้ว อาจจะไม่มีการนำมาใช้บังคับเป็นเวลานานหรือแม้จะไม่มีกรณีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายนั้นๆ เกิดขึ้นก็ตาม ก็ถือว่ากฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับอยู่
            5) กฎหมายจะต้องมีสภาพบังคับ
            เพื่อให้บุคคลปฏิบัติตามกฎหมาย ก็จำเป็นที่จะต้องมีสภาพบังคับ ถ้ากฎหมายไม่มีสภาพบังคับประชาชนก็อาจจะไม่เกรงกลัวและไม่ปฏิบัติตาม แต่ถ้าเกิดมีผลร้ายหรือมีการลงโทษก็อาจจะทำให้มีการเกรงกลัวต่อกฎหมายนั้น และในที่สุดก็ต้องปฏิบัติตามแต่คำว่าสภาพบังคับนั้นก็จะมีอยู่หลายประการด้วยกัน ทั้งในทางอาญาและในทางแพ่ง

             ความแตกต่างระหว่างการบัญชีบริหารกับการบัญชี

เมื่อกล่าวถึง การบัญชีบริหาร มักมีคำถามเสมอ ๆ ว่า การบัญชีบริหาร (Management Accounting) คืออะไร แตกต่างไปจากการบัญชีการเงิน (Financial Accounting) หรือไม่ อย่างไร อันที่จริงแล้วการบัญชีบริหารเป็นคำที่เกิดจากการผสมผสานของ การบัญชี และ การบริหาร เข้าด้วยกัน การบัญชีบริหารจึงเป็นเรื่องของการจัดทำและนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศทางการเงินที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแก่ผู้บริหารและพนักงานภายในองค์กรธุรกิจเพื่อนำไปใช้ในการวางแผน การตัดสินใจ และการควบคุมการดำเนินงาน กล่าวให้แคบเข้าก็คือการบัญชีบริหารเป็นกิจกรรมในการแปรเปลี่ยนข้อมูลดิบ (Data) ทั้งหลายให้เป็นสารสนเทศ (Information) หรือเป็นสารสนเทศที่จะนำไปใช้ในการสื่อความหมายได้ หรือเป็นข้อมูลที่ฝ่ายบริหารสามารถนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจได้ ดังนั้น กิจกรรมดังกล่าวจึงรวมถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำข้อมูลเพื่อให้เกิดการสื่อความหมาย และการตีความข้อมูลเหล่านั้น ในขณะที่การบัญชีการเงินเป็นเรื่องของการจัดทำและนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศทางการเงินในอดีตขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน (งบกำไรขาดทุน) ฐานะการเงิน (งบดุล) หรือการเปลี่ยนแปลงของฐานะการเงินของกิจการ (งบกระแสเงินสด) ต่อบุคคลและหรือหน่วยงานภายนอก เช่น ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ ผู้ลงทุน ผู้สนใจจะลงทุน หน่วยราชการต่าง ๆ ฯลฯ ทั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่การตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ เช่น การซื้อขายหุ้น การพิจารณาสินเชื่อ เป็นต้น
                                                      หัวใจของสารคดี


1สารคดีเป็นบันเทิงคดี
หัวใจของงานสารคดีของผม ข้อแรกเลย สารคดีเป็นบันเทิงคดีครับ ผมเปรียบหัวใจสารคดีเหมือนหัวใจของคนเราครับ  หัวใจของคนเรามี 4 ห้อง ห้องแรกเลยผมถือว่าเป็นห้องที่สำคัญมากก็คือ เวลาเขียนสารคดี ทำสารคดีทีวีหรือแม้แต่เขียนสคริปต์รายการสารคดีทางวิทยุ โทรทัศน์ เขียนบทความสารคดีอะไรก็แล้วแต่ เราจะยึดหัวใจข้อนี้ก็คือ สารคดีเป็นบันเทิงคดี นั่นหมายความว่าต้องอ่านสนุก ดูสนุก
  2นำเสนอข้อมูลที่เป็นจริง    
แต่ว่าอย่าลืมนะว่า หัวใจห้องที่ 2 ของสารคดีคือ  ต้องนำเสนอข้อมูลหรือข้อเท็จจริง เราไม่สามารถแต่งเรื่องสารคดีเองขึ้นมาได้ เราไม่สามารถแต่งเรื่องตาดผาส้วมขึ้นมาได้ เราไม่สามารถแต่งเรื่องเจ้าแม่กาลีขึ้นมาเองได้ จะต้องนำเสนอสิ่งที่เป็นความจริงหรือที่เรียกว่า fact นะครับ เป็นบันเทิงคดีที่นำเสนอข้อมูล ก็คือพูดง่ายๆ ว่าเป็น ความรู้คู่ความบันเทิง ซึ่ง ปัจจุบันนี้เขามีภาษาอังกฤษที่บัญญัติศัพท์ขึ้นมาใหม่ คือ edutainment /edu ก็มาจาก education ซึ่งแปลว่า ความรู้ การศึกษาอะไรพวกนี้นะครับ tainment ก็มาจาก entertainment ซึ่งแปลว่าความ บันเทิง ก็กลายเป็นสาระความรู้คู่ความบันเทิง
     หัวใจห้องที่1 สารคดีเป็นบันเทิงคดี แต่อย่าลืมว่าสารคดีเป็นการนำเสนอข้อมูลหรือข้อเท็จจริง ไม่สามารถแต่งขึ้นมาเองได้ นี่เป็นหัวใจห้องที่ 2
 
3 นำเสนออย่างสร้างสรรค์
หัวใจห้องที่ 3 ของสารคดีก็คือไม่มีใครบอกว่าสารคดีต้องเอาข้อมูลที่เราได้มา สมมุติเราค้นเอกสาร เป็นเอกสารทางวิชาการ แล้วเอาข้อมูลใส่เข้าไปในสารคดีของเราทั้งดุ้นเลย ลอกมาใส่เลยในบทความ ในสคริปต์ของเรา ไม่ใช่นะครับ ผมคิดว่าสารคดีจะต้องผ่านกระบวนการนำเสนออย่างสร้างสรรค์ หรือต้องผ่านศิลปะในการนำเสนอ คือต้องเอาข้อมูล ข้อเท็จจริงนั้น มาใส่ในเครื่องจักรกลในสมองของเรา เพื่อที่จะแปลเอาข้อมูลที่ยาก เข้าใจยาก ที่น่าเบื่อหรือแข็งท่อ ให้ดูมีชีวิตชีวาหรือความสนุกสนาน ต้องมีลีลาลูกเล่นในการนำเสนอ ซึ่งหมายถึงจะขึ้นต้นเรื่องยังไง จะร้อยเรียงเรื่องราวยังไง จึงจะชวนอ่าน ชวนดู ชวนติดตามไม่น่าเบื่อ นี่เป็นหัวใจห้องที่ 3

4 ใช้รูปธรรมอธิบายนามธรรม  
ส่วนหัวใจห้องที่ไม่ใช่เป็นทฤษฎีก็แล้วกันนะครับ แต่เป็นกฎเกณฑ์ที่ผมจับขึ้นมาจากประสบการณ์ในการทำงานสารคดี ก็คือ หัวใจห้องที่ 4 ใช้รูปธรรมที่จับต้องได้ ในการอธิบายนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ หรือพูดง่ายๆ ว่า อ.มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ศิลปินแห่งชาติและปราชญ์ของเราเคยใช้คำบอกว่า เมื่อจะเขียนอะไรก็ตาม อย่าเพียงแต่เล่า จงสำแดงให้เป็นที่ประจักษ์ อย่าเพียงแต่เล่าเฉยๆ อย่าเพียงแต่เล่าว่า โอ-มันสวยเหลือเกิน น่าสนุก น่าตื่นเต้นเหลือเกิน แต่แสดงออกมาให้เห็นเลยว่า สวย-มันสวยยังไง สนุก-มันสนุกยังไง ตื่นเต้น-มันตื่นเต้นยังไง ก็คือ ใช้รูปธรรมที่จับต้องได้มาอธิบายนามธรรมที่ยากๆ

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ


เทคโนโลยีสารสนเทศ (Infornation Technology : IT) หมายถึง การนำ

เทคโนโลยีมาใช้สร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมี

ประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึง

การใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสาร

ระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ใน

การจัดการสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้น

ตอนวิธีการดำเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยว

กับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์

สูงสุด เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเทคโนโลยีที่ครอบคลุมเรื่องเกี่ยว

กับการประมวลผลข้อมูล ซึ่งได้แก่การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การติดต่อ

สื่อสารระหว่างกันด้วยความรวดเร็วการจัดการข้อมูล รวมถึงวิธีการที่จะใช้

ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มนุษย์มีการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีต่างๆเพื่อการสื่อสารมาเป็นเวลานานนับพันปี จากภาพที่ 1 จะเห็นว่า ในระยะแรกนั้น มนุษย์ใช้เทคโนโลยีที่ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติ เช่น แผ่นปาปีรัส การตีกลอง การเป่าเขาสัตว์ จนกระทั่งมีการประดิษฐ์หนังสือพิมพ์ขึ้นประมาณ 59 ปีก่อนคริสตกาล การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์เริ่มต้นขึ้นเมื่อมีการส่งสัญญาณโทรเลขในปี ค.ศ. 1838 และการเกิดขึ้นของวิทยุกระจายเสียงใน ค.ศ. 1848 ในขณะเดียวกันนักประดิษฐ์ส่วนหนึ่งก็กำลังพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ขึ้นมา แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้ทั่วไป สื่อโทรทัศน์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1927 และช่วงทศวรรษที่ 1960s (ระหว่าง ค.ศ. 19601969) คอมพิวเตอร์ก็ถูกนำมาใช้แพร่หลายมากขึ้น และมีการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายในเวลาต่อมา เทคโนโลยีที่เรียกกันว่าเป็นสื่อสมัยใหม่อย่างอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1983 และกลายเป็นเทคโนโลยีที่ปฏิวัติโลกการสื่อสารเลยทีเดียว




ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของคอมพิวเตอร์


      ความหมายและความเป็นมา
 เมื่อพิจารณาศัพท์คำว่า คอมพิวเตอร์ ถ้าแปลกันตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษ จะหมายถึงเครื่องคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง ๆ เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คำนวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน หรือเครื่องคิดเลข ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด  ในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึงเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์
เครื่องคำนวณในยุคประวัติศาสตร์
เครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลก ได้แก่ ลูกคิด มีการใช้ลูกคิดในหมู่ชาวจีนมากกว่า 7000 ปี และใช้ในอียิปต์โบราณมากกว่า 2500 ปี ลูกคิดของชาวจีนประกอบด้วยลูกปัดร้อยอยู่ในราวเป็นแถวตามแนวตั้ง โดยแต่ละแถวแบ่งเป็นครึ่งบนและล่าง ครึ่งบนมีลูกปัด 2 ลูก ครึ่งล่างมีลูกปัด 5 ลูก แต่ละแถวแทนหลักของตัวเลข  เครื่องคำนวณกลไกที่รู้จักกันดี ได้แก่ เครื่อง คำนวณของปาสคาลเป็นเครื่องที่บวกลบด้วยกลไกเฟืองที่ขบต่อกัน เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) นักคณิตศาสาตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2185
การกำเนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์
เครื่องมือทั้งหลายที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาในยุคก่อนนั้นส่วนมากประกอบด้วยฟันเฟือง รอก คาน ซึ่งเป็นวัสดุ ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากทำให้การทำงานล่าช้าและผิดพลาดอยู่เสมอ ดังนั้นในยุคต่อมาจึงพยายาม พัฒนาเครื่องมือ ให้มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น


ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของอินเตอร์เน็ต
 อินเตอร์เน็ตกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1969 หรือประมาณปี พ.ศ. 2512 โดยพัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) จุดประสงค์ของโครงการอาร์พาเน็ต เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คงความสามารถในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ แม้ว่าจะมี บางส่วนของเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้ก็ตาม 
   สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตใน พ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจร สื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรก ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และ ต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่น ๆ
  สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไป ที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers)


 

ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

        
     เทคโนโลยีสารสนเทศ (Infornation Technology : IT) หมายถึง การนำ

เทคโนโลยีมาใช้สร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมี

ประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยี

สารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บใช้งาน

ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับ

เครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และ

อุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอนวิธีการดำเนินการซึ่ง

เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับ

กรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด
เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเทคโนโลยีที่ครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับการประ

มวลผลข้อมูล ซึ่งได้แก่การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การติดต่อสื่อสาร

ระหว่างกันด้วยความรวดเร็วการจัดการข้อมูล รวมถึงวิธีการที่จะใช้ข้อมูลให้

เกิดประโยชน์สูงสุด
         วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

มนุษย์มีการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีต่างๆเพื่อการสื่อสารมาเป็นเวลานานนับพันปี จากภาพที่ 1 จะเห็นว่า ในระยะแรกนั้น มนุษย์ใช้เทคโนโลยีที่ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติ เช่น แผ่นปาปีรัส การตีกลอง การเป่าเขาสัตว์ จนกระทั่งมีการประดิษฐ์หนังสือพิมพ์ขึ้นประมาณ 59 ปีก่อนคริสตกาล การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์เริ่มต้นขึ้นเมื่อมีการส่งสัญญาณโทรเลขในปี ค.ศ. 1838 และการเกิดขึ้นของวิทยุกระจายเสียงใน ค.ศ. 1848 ในขณะเดียวกันนักประดิษฐ์ส่วนหนึ่งก็กำลังพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ขึ้นมา แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้ทั่วไป สื่อโทรทัศน์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1927 และช่วง
ทศวรรษที่ 1960s (ระหว่าง ค.ศ. 19601969) คอมพิวเตอร์ก็ถูกนำมาใช้แพร่หลายมากขึ้น และมีการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายในเวลาต่อมา เทคโนโลยีที่เรียกกันว่าเป็นสื่อสมัยใหม่อย่างอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1983 และกลายเป็นเทคโนโลยีที่ปฏิวัติโลกการสื่อสารเลยทีเดียว